ภาษา : 
  

ติดต่อเรา

สถิติของเว็บไซต์
16/11/2557
12/03/2567
2065950
42932

ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  8 ราย

เข้าสู่ระบบ

นาฬิกา
26 เมษายน 2567

ปฏิทินกิจกรรม

ทรัพย์สินทางปัญญา


 1. ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร

                ทรัพย์สินทางปัญญา  หมายถึง  ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรพย์อีกชนิดหนึ่ง นอกจากสังหาริมทรัพย์  คือ  ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้  เช่น  นาฬิกา  รถยนต์  โต๊ะ  เป็นต้น  และอสังหาริมทรัพย์  คือ  ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้  เช่น  บ้าน  ที่ดิน  เป็นต้น

2.  ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

                โดยทั่ว ๆ  ไป  คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคบกับคำว่า  ลิขสิทธ์”  ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญา     ทุกประเภท  โดยที่ถูกต้องแล้วทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  ที่เรียกว่า  ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial  property)  และลิขสิทธิ์  (Copyright)

                ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม  ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม  แท้ที่จริงแล้ว  ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้  เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น  การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม  ซึ่งอาจจะเป็นกระบวน  หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้น       ขึ้นใหม่  หรือที่เกี่ยวกับตัวสินค้า  หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์  นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ  ชื่อและถิ่นที่อยืทางการค้า  ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม  จึงสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

-          สิทธิบัตร  (Patent)

-          เครื่องหมายการค้า  (Trademark)

-          แบบผังภูมิของวงจรรวม  (Layout-Designs of Infegrated Circuit)

-          ความลับทางการค้า  (Trede  Secrets)

-          ชื่อทางการค้า  (Trade  Name)

-          ส่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  (Geographical  Indication)

3.  ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท

                ลิขสิทธิ์  หมายถึง  งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม  ศิลปกรรม  ดนตรีกรรม      งานภาพยนตร์  หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้ง

                สิทธิข้างเคียง  (Neighbouring  Right)  คือ  การนำเอางานด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง  เช่น  นักแสดง    ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ในการบันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ

                โปรแกรมคอมพิวเตอร์  (Computer  Program  หรือ  Computer  Software)  คือ  ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน

                งานฐานข้อมูล  (Data  Base)  คือ  ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมขึ้นเพื่อให้ประโยชน์ด้านต่างๆ

                สิทธิบัตร  หมายถึง  หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์  (Invention)                 การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product  Design)  หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์  (Utility  Model)  ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด

                การประดิษฐ์  คือ  ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ  ลักษณะองค์ประกอบ  โครงสร้างหรือกลไก       ของผลิตภัณฑ์  รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

                การออกแบบผลิตภัณฑ์  คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม  และแตกต่างไปจากเดิม

                ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร  (Petty  Patent)  จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์  แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก  หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย

                แบบผังภูมิของวงจรรวม  หมายถึง  แผนผังหรือแบบที่ทำขื้น  เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า  เช่น  ตัวนำไฟฟ้า  หรือตัวต้านทาน  เป็นต้น

                เครื่องหมายการค้า   หมายถึง  เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้า  หรือบริการ  ได้แก่

                เครื่องหมายการค้า  (Trade  Mark)  คือ  เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น  โค้ก  เป๊ปซี่  บรีส  แฟ้บ  เป็นต้น

                เครื่องหมายบริการ  (Service  Mark)  คือ  เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ    เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่อง-หมายของสายการบิน  ธนาคาร  โรงแรม  เป็นต้น

                เครื่องหมายรับรอง  (Certification  Mark)  คือ  เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็น      ที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น  เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า  หรือบริการนั้น  เช่น  เชลล์ชวนชิม  แม่ช้อยนางรำ  เป็นต้น

                เครื่องหมายร่วม  (Colective  Mark)  คือ  เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน  หรือโดยสมาชิกของสมาคม  กลุ่มบุคคล  หรือองค์กรอื่นใดของรัฐบาลหรือเอกชน  เช่น  ตราช้างของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย  จำกัด เป็นต้น

                ความลับทางการค้า  หมายถึง  ข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป  และมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ  และมีการดำเนินการตามสมควรเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ

                ชื่อทางการค้า  หมายถึง  ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ  เช่น  โกดัก  ฟูจิ  เป็นต้น

               

 

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  หมายถึง  ชื่อ  สัญลักษณ์  หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้  แทนแหล่งภูมิศาสตร์  และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ  ชื่อเสียง  หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น  เช่น  มีดอรัญญิก  ส้มบางมด  ผ้าไหมไทย  แชมเปญ  คอนยัค  เป็นต้น

                ในปัจจุบัน  ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา  5  ฉบับ  คือ

1.       พระราชบัญญัติสิทธิบัตร  พ.ศ. 2522  แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติสิทธิบัติ  (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2535  และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร  (ฉบับที่ 3)  พ.ศ. 2542

2.       พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า  พ.ศ. 2534  แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า  (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2543 

3.       พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์  พ.ศ. 2537

4.       พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม  พ.ศ. 2543

5.       พระราชบัญญัติสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  พ.ศ. 2547

นอกจากนี้  ประเทศไทยยังมีพันธกรณีตามการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศ  ที่จะต้องออกกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท  ต่อไปในอนาคต