ภาษา : 
  

ติดต่อเรา

สถิติของเว็บไซต์
16/11/2557
12/03/2567
1991387
41612

ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  7 ราย

เข้าสู่ระบบ

นาฬิกา
28 มีนาคม 2567

ปฏิทินกิจกรรม

FTA (Free Trade Area) เขตการค้าเสรี


 

FTA ย่อมาจาก Free Trade Area หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ(ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร
 
ความเป็นมาของเขตการค้าเสรี
           แนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ(Comparative Advantage) มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน (Win-Win Situation)

นโยบายการค้าเสรีมีดังนี้
1.
การผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำ เลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้านั้นสูง
2.
ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
3.
ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
4.
เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า(Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศไม่มีการควบคุมการนำเข้าหรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของประเทศ
ความหมายของเขตการค้าเสรี
              เขตการค้าเสรี หมายถึง การวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่มการทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก แต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการบริการการลงทุน เป็นต้น
ประโยชน์และผลกระทบของการทำ FTA
              ในภาพรวมแล้วการทำ FTA มีทั้งผลดีและผลกระทบ แต่คู่เจรจาได้พยายามศึกษารวบรวมข้อมูล และเจรจาเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างพอใจได้รับผลประโยชน์มากที่สุด หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามสภาพแวดล้อมเฉพาะ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของคู่เจรจาจะแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA หากจะวิเคราะห์แต่ละด้านของแต่ละ FTA จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรม บางกลุ่มสินค้าได้ประโยชน์ บางกลุ่มสินค้าไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ การเจรจาก็สามารถยืดเวลาในการลดหรือยกเว้นภาษีออกไปจนกว่าภาคการผลิตจะสามารถปรับตัวได้ หรือภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ เยียวยาชดเชยผลกระทบเหล่านั้นในภาพรวมการทำ FTA น่าจะมีประโยชน์ดังนี้
 
1. ลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นอุปสรรคทางภาษี และที่มิใช่ภาษี
 
2. เพิ่มมูลค่าในทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
 
3. เพิ่มโอกาสการส่งออก ได้ตลาดใหม่ และขยายตลาดเดิม
 
4. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
 
5. สร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ การเมือง
 
6. ให้ความร่วมมือทางด้านศุลกากร การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลการลักลอบ หลีกเลี่ยงและสินค้าอันตราย สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
 
7. พัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
 
8. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ และเทคโนโลยีการผลิต
 
9. สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น